สสส. ชวนถก ก้าวต่อไปสมรสเท่าเทียม ปูทางสู่การบังคับใช้กฎหมายที่ครอบคลุม

วันที่ 23 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา ก้าวต่อไปสมรสเท่าเทียม นับเป็นอีกก้าวของหน้าประวัติศาสตร์ไทย เมื่อกฎหมายสมรสเท่าเทียมหรือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)

มีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ โดยมอบสิทธิให้กับบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศไม่ว่าเพศใด สามารถจดทะเบียนสมรสได้อย่างเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย ทว่าแม้การเดินทางขับเคลื่อนเรื่องนี้กว่าทศวรรษจะสิ้นสุดลง แต่นั่นก็ไม่ใช่วันสุดท้ายของการก้าวเดิน เนื่องจากยังมีข้อกฎหมายอีกหลายข้อที่เป็นช่องว่าง และยังไม่ถูกบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ สสส. ในฐานะที่มีบทบาทต่อสุขภาวะของประชากรทุกกลุ่มอย่างรอบด้าน จึงได้สานพลังภาคีเครือข่าย นำโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน (ThaiTGA) และภาคประชาสังคม เปิดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังเสียงจากทุกภาคส่วน พร้อมเผยข้อมูลทางวิชาการจากการศึกษาวิจัย ปูทางสู่การขับเคลื่อนการบังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง

สสส. สานพลังเพื่อความเท่าเทียม ก้าวต่อไปสมรสเท่าเทียม

คุณภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจหนึ่งจากการได้ร่วมกับ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจประชากรหลากหลายทางเพศ รวมถึงสถานการณ์ชีวิตและสุขภาพของ LGBTIQN+ ที่ได้พบข้อมูลที่มีนัยสำคัญ 3 ประการในปัจจุบัน ได้แก่ 1.กลุ่มเยาวชนมีแนวโน้มที่จะระบุว่าตนเองเป็น LGBTIQN+ มากกว่ากลุ่มประชากรทั่วไป 2.แม้คนส่วนใหญ่มองว่ากลุ่ม LGBTIQN+ เป็นบุคคลทั่วไป แต่ก็ยังมีคนอีกประมาณ 6% ที่มองว่ากลุ่ม LGBTIQN+ เป็นความผิดปกติ และ 3.พบว่ากลุ่ม LGBTIQN+ เป็นกลุ่มที่จะมีความกังวลสูงกว่าบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะในเยาวชนที่พบข้อมูลว่ายังมีความรู้สึกไม่สบายใจและท้อแท้ รวมถึงรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง และอาจมีความคิดทำร้ายตนเอง โดยข้อมูลต่างๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ไปจนถึงสุขภาวะของกลุ่มประชากรกลุ่ม LGBTIQN+ อย่างมากเช่นกัน ซึ่งการเดินทางมาถึงของ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ก็นับได้ว่าเป็นอีกย่างก้าวสำคัญของสังคม ที่จะนำไปสู่การสร้างทัศนคติเชิงบวก และคลายอคติซ่อนเร้นต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศลงได้มากขึ้น แม้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่เมื่อสายตาของความเข้าใจมีมากขึ้น ความสุขรอบด้านก็จะตามมา และปัญหาสุขภาวะก็มีแนวโน้มจะลดลงด้วยเช่นกัน

คุณภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจหนึ่งจากการได้ร่วมกับ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจประชากรหลากหลายทางเพศ รวมถึงสถานการณ์ชีวิตและสุขภาพของ LGBTIQN+ ที่ได้พบข้อมูลที่มีนัยสำคัญ 3 ประการในปัจจุบัน ได้แก่ 1.กลุ่มเยาวชนมีแนวโน้มที่จะระบุว่าตนเองเป็น LGBTIQN+ มากกว่ากลุ่มประชากรทั่วไป 2.แม้คนส่วนใหญ่มองว่ากลุ่ม LGBTIQN+ เป็นบุคคลทั่วไป แต่ก็ยังมีคนอีกประมาณ 6% ที่มองว่ากลุ่ม LGBTIQN+ เป็นความผิดปกติ และ 3.พบว่ากลุ่ม LGBTIQN+ เป็นกลุ่มที่จะมีความกังวลสูงกว่าบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะในเยาวชนที่พบข้อมูลว่ายังมีความรู้สึกไม่สบายใจและท้อแท้ รวมถึงรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง และอาจมีความคิดทำร้ายตนเอง โดยข้อมูลต่างๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ไปจนถึงสุขภาวะของกลุ่มประชากรกลุ่ม LGBTIQN+ อย่างมากเช่นกัน ซึ่งการเดินทางมาถึงของ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ก็นับได้ว่าเป็นอีกย่างก้าวสำคัญของสังคม ที่จะนำไปสู่การสร้างทัศนคติเชิงบวก และคลายอคติซ่อนเร้นต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศลงได้มากขึ้น แม้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่เมื่อสายตาของความเข้าใจมีมากขึ้น ความสุขรอบด้านก็จะตามมา และปัญหาสุขภาวะก็มีแนวโน้มจะลดลงด้วยเช่นกัน

คุณภรณี ยังเปิดเผยอีกว่า การเปิดเวทีสาธารณะสมรสเท่าเทียม ก้าวต่อไปสมรสเท่าเทียม กับมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย ที่ สสส. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน (ThaiTGA) และภาคีเครือข่าย ครั้งนี้ก็เพื่อเปิดเผยข้อมูลทางวิชาการจากการศึกษาวิจัย โดยเฉพาะจากฝ่ายวิชาการที่เฝ้ามองและคลุกคลีอยู่กับข้อมูลด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง นำโดย ผศ.ดร.นรุต ศุภวรรธนกุล และ ผศ.ดร.อัครา เมธาสุข คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมถึง ผศ.ดรณภูมิ สามัคคีคารมย์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน (ThaiTGA) ขณะเดียวกันก็เป็นเวทีที่จะได้รับฟังเสียงจากทุกภาคส่วนให้รอบด้านมากขึ้น อันจะนำมาสู่การขับเคลื่อนการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุม เนื่องจากปัจจุบันแม้จะมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว แต่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาหลายด้านจากการที่ข้อกฎหมายหลายข้อยังไม่ครอบคลุม ทั้งนี้ สสส. จะได้ร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยข้อมูลทางวิชาการเป็นแนวทางในการเดินหน้าอย่างมีทิศทาง โดยครั้งได้เสนอแนวทาง 4 ด้าน เพื่อสร้างการตระหนักรู้ของสังคมมากขึ้น ได้แก่ 1. การสร้างความเข้าใจกับประชาชนที่มีความแตกต่างหลากหลายทางทั้งด้านวัฒนธรรมและศาสนา รวมไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เข้าใจแนวคิดความหลากหลายทางเพศ 2. การพัฒนาบริการ โดยคำนึงถึงความละเอียดอ่อน และให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ การเงิน และกฎหมายได้ง่ายขึ้น 3.ออกกฎหมายรองรับเพิ่มเติม อาทิ คำนำหน้า เพื่อให้นำไปสู่ความครอบคลุมของข้อกฎหมาย และ 4. ผลักดันเรื่องการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา โดยให้ครอบคลุมเรื่องเพศศึกษาและความเท่าเทียมทางเพศยิ่งขึ้น

การเปิดเวทีสาธารณะสมรสเท่าเทียมกับมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย นับเป็นส่วนหนึ่งของการนำข้อมูลจากการศึกษาวิจัยมาใช้เพื่อการผลักดันและขับเคลื่อนอย่างมีทิศทาง ผศ.ดร.นรุตม์ ศุภวรรธนะกุล คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวบนเวทีเสวนา มุมมองที่แตกต่างหลากหลายจากงานวิจัย สู่การบังคับใช้กฎหมาย ว่า ถึงแม้กฎหมายสมรสเท่าเทียมหรือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 มีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสำคัญของกฎหมายสมรสเท่าเทียมด้วย และเกิดการสร้างความเป็นกลางทางเพศขึ้น โดยเปลี่ยนการใช้คำที่เคยระบุบทบาททางเพศ เช่น “สามี” และ “ภริยา” มาเป็น “บุคคล” หรือ “คู่สมรส” รวมถึงเปิดโอกาสให้บุคคลไม่ว่าจะนิยามตนเองด้วยเพศใด สามารถจดทะเบียนสมรสกับคู่ของตนเองได้ แต่ก็มีช่องว่างอีกหลายด้านที่แสดงให้เห็นว่า ก้าวต่อไปสมรสเท่าเทียม ในปัจจุบันความเป็นกลางทางเพศยังคงไม่ขยายไปถึงขอบเขตการทำหน้าที่ในเรื่องอื่นๆ ที่ส่งผลถึงกัน

การเปิดเวทีสาธารณะสมรสเท่าเทียมกับมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย นับเป็นส่วนหนึ่งของการนำข้อมูลจากการศึกษาวิจัยมาใช้เพื่อการผลักดันและขับเคลื่อนอย่างมีทิศทาง ผศ.ดร.นรุตม์ ศุภวรรธนะกุล คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวบนเวทีเสวนา มุมมองที่แตกต่างหลากหลายจากงานวิจัย สู่การบังคับใช้กฎหมาย ว่า ถึงแม้กฎหมายสมรสเท่าเทียมหรือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 มีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสำคัญของกฎหมายสมรสเท่าเทียมด้วย และเกิดการสร้างความเป็นกลางทางเพศขึ้น โดยเปลี่ยนการใช้คำที่เคยระบุบทบาททางเพศ เช่น “สามี” และ “ภริยา” มาเป็น “บุคคล” หรือ “คู่สมรส” รวมถึงเปิดโอกาสให้บุคคลไม่ว่าจะนิยามตนเองด้วยเพศใด สามารถจดทะเบียนสมรสกับคู่ของตนเองได้ แต่ก็มีช่องว่างอีกหลายด้านที่แสดงให้เห็นว่า ในปัจจุบันความเป็นกลางทางเพศยังคงไม่ขยายไปถึงขอบเขตการทำหน้าที่ในเรื่องอื่นๆ ที่ส่งผลถึงกัน

ทั้งนี้การศึกษาวิจัยโดยมุ่งไปที่การเก็บข้อมูลจากกลุ่มหลัก อันได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐ ภาคประชาสังคม และประชาชนทั่วไป เพื่อสำรวจมุมมองและทัศนคติยังพบข้อมูลที่น่าสนใจ อาทิ เจ้าหน้าที่รัฐยังคุ้นเคยกับการทำงานแบบบนลงล่าง และแม้จะมองว่าความหลากหลายทางเพศเป็นประเด็นที่ซับซ้อนและท้าทาย แต่ก็ยังขาดการสนับสนุนจากส่วนกลาง และยังต้องการแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน ในขณะที่การสำรวจกลุ่มประชาสังคมเองก็ยังคุ้นเคยกับความรู้เฉพาะทางในพื้นที่ความถนัด และยังขาดการได้รับความร่วมมือให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนภาคประชาชนนั้น แม้ความเข้าใจต่อกลุ่มความหลากหลายทางเพศจะมีมากขึ้น รวมถึงเข้าใจต่อการมาถึงของสมรสเท่าเทียม แต่ก็พบว่าบางกลุ่มยังมีทัศนคติอิงกับค่านิยมกระแสหลักแต่ละรุ่นและภาพจำบนพื้นที่สื่อ รวมถึงยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เฉพาะด้าน อาทิ รายละเอียดกฎหมาย และความเข้าใจความหลากหลายทางที่ต่างกันในแต่ละยุค ผศ.ดร.อัครา เมธาสุข คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งร่วมเสวนา มุมมองที่แตกต่างหลากหลายจากงานวิจัย สู่การบังคับใช้กฎหมาย ร่วมเสนอแนะเชิงนโยบายและการขับเคลื่อนอันมีพื้นฐานมาจากการสำรวจมุมมองและทัศนคติของกลุ่มที่ศึกษาหลักว่าพื้นที่ต่างๆ ในสังคมล้วนมีบทบาทเกี่ยวเนื่องต่อกัน อาทิ หน่วยงานเอกชน ควรให้ความปลอดภัย รวมถึงดูแลให้สิทธิในการเข้ารับ และให้สวัสดิการในการเข้าถึงทรัพยากรที่เท่าเทียมกันของคนทุกเพศ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานภาครัฐ อาทิ ข้อเสนอต่อกระทรวงศึกษา ที่ต้องมีส่วนร่วมต่อการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง มีนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคลากรและผู้เรียนในพื้นที่การศึกษา โดยใช้เหตุแห่งเพศ เป็นต้น

เวทีสาธารณะสมรสเท่าเทียมกับมุมมองที่แตกต่างหลากหลายครั้งนี้ ยังมีการเสวนาจากหลากหลายบุคคลที่ทำงานขับเคลื่อนด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง ร่วมแสดงความคิดเห็นบนเวที สู่ปลายสายรุ้ง: ก้าวต่อไปของการขับเคลื่อนเพื่อสนับสนุนกฎหมายสมรสเท่าเทียม โดย รศ.ดร.อานนท์ มาเม้า อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนใจประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ขณะที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมในวันนี้ก็ยังเผยให้เห็นด้วยว่าในอีกมุมหนึ่งความแตกต่างในความเป็นชายและหญิงที่มีอยู่เดิมก็ยังคงซ่อนเร้นอยู่เช่นกัน การเกิดขึ้นของกฎหมายสมรสเท่าเทียม และการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อข้อกฎหมายอื่นๆ ที่ยังมีช่องว่างอยู่ จึงไม่ได้เพียงแค่ความเท่าเทียมจากการที่บุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศไม่ว่าเพศใด จะสามารถจดทะเบียนสมรสได้อย่างเท่าเทียมภายใต้กฎหมายเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการที่บุคคลทุกเพศ และทุกอัตลักษณ์ทางเพศ จะได้รับสิทธิและผลประโยชน์ที่พึงมีจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้อีกด้วยเช่นกัน รศ.ดร.อานนท์ กล่าวว่าเพิ่มเติมว่า สำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศเอง ถึงแม้จะสามารถจดทะเบียนสมรสได้อย่างเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย แต่บางข้อกฎหมายก็ยังไม่ครอบคลุม อาทิ การรับรองบุตรของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ การสมรสกับคู่สมรสต่างชาติ ที่คู่สมรสต่างชาติยังไม่ได้รับสิทธิการแปลงสัญชาติเป็นไทย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นจะต้องมีการแก้ไขข้อกฎหมายอีกหลายฉบับเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และครอบคลุม ทั้งนี้จำเป็นต้องศึกษารอบด้าน เนื่องจากมีความละเอียดอ่อนอยู่ในบางเรื่องเช่นกัน

การเปิดเวทีสาธารณะสมรสเท่าเทียมกับมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย ที่ สสส. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน (ThaiTGA) และภาคีเครือข่าย ร่วมกันแสดงทรรศนะในครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงสำคัญที่จะทำให้ “สมรสเท่าเทียม” ที่เกิดขึ้นสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสังคมได้มากขึ้น รวมถึงสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและความเท่าเทียมที่แท้จริงให้มากขึ้นในอนาคตอีกด้วย

ทั้งนี้ สามารถรับชมคลิปเพื่อเปิดมุมมองให้เข้าใจความหลากหลายทางเพศ และการยอมรับในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป กับการมีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=DjSYrlJZBb0

ติดตามข่าวสาร ข่าวเด็ด ประเด็นร้อน ที่นี่ 👉 ข่าวเด็ดประจำวัน