ซากหมาป่าดึกดำบรรพ์

นักวิทย์รัสเซีย ชันสูตรซากหมาป่าดึกดำบรรพ์ 44,000 ปี

นักวิทยาศาสตร์รัสเซียทำการชันสูตรซากหมาป่าดึกดำบรรพ์ที่ถูกแช่แข็งในดินนาน 44,000 ปี บริเวณเขตห่างไกลทางตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาซากสุนัขป่าโบราณ นักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคยากูเตีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัสเซีย กำลังทำการชันสูตรซากศพหมาป่าที่ถูกแช่แข็งในชั้นดินเยือกแข็งคงตัวเป็นเวลาประมาณ 44,000 ปี ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาซากสุนัขป่าโบราณ ซากศพหมาป่าถูกพบโดยบังเอิญโดยคนในพื้นที่ ในเขตอาบีสกี ในภูมิภาคยากูเตีย เมื่อปี 2564 ขณะนี้ร่างของหมาป่ากำลังได้รับการตรวจสอบอย่างเหมาะสมโดยนักวิทยาศาสตร์ นายอัลเบิร์ต โปรโตโปปอฟ หัวหน้าแผนกศึกษาสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ยากูเตีย กล่าวว่า นี่ถือเป็นการค้นพบนักล่าในยุคไพลสโตซีนตอนปลายครั้งแรกของโลก ซากศพหมาป่ามีอายุประมาณ 44,000 ปี และไม่เคยมีการค้นพบเช่นนี้มาก่อน ภูมิภาคยากูเตียตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอาร์กติกและเขตตะวันออกไกลของรัสเซีย ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่หนองน้ำและป่าไม้ขนาดกว้างใหญ่ประมาณรัฐเท็กซัสของสหรัฐฯ โดยประมาณ 95% ของพื้นที่ถูกปกคลุมไปด้วยชั้นดินเยือกแข็งคงตัว ขณะที่อุณหภูมิฤดูหนาวในภูมิภาคนี้จะลดลงเหลือต่ำสุดถึงลบ 64 …

นักวิทย์รัสเซีย ชันสูตรซากหมาป่าดึกดำบรรพ์ 44,000 ปี Read More