ถกปัญหาวัยรุ่น ทำไมต้องทดแทนบุญคุณพ่อแม่ ?
มีเหตุผลอะไรที่ทำให้ไม่ต้องทดแทนบุญคุณพ่อแม่ ในกรณีของพ่อแม่ที่มอบปัจจัย 4 ทั้งการศึกษา อาหาร ที่พักอาศัย ถึงอาจไม่ดีเท่าครอบครัวคนอื่นที่มีเงินเยอะพอที่จะเลี้ยงดูให้ใช้ชีวิตแบบหรูหรา ด้วยจำนวนทรัพย์ที่น้อยจึงอาจต้องให้ลูกช่วยแบ่งเบาบ้างในบางเวลา ทำไมถึงถูกมองกลับมาว่าตัวพ่อและแม่ไม่พร้อมที่จะมีลูก ต้องให้ลูกใช้เวลาว่างมาช่วยทำงาน
ตัวเราที่เป็นลูกควรทำอะไรบ้าง นอกจากสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง เช่น การศึกษา (ที่พ่อแม่ส่งเรียน) หรือเรื่องส่วนตัว เช่น อาหารการกิน (ที่พ่อแม่ให้กินฟรี[ถึงแม้อาจจะไม่ได้กินหรูหรา]) ที่พักอาศัยและของใช้ส่วนตัว (ของพ่อแม่ [อาจไม่ได้ใหญ่โต]) ในขณะที่เมื่อเรายืมเงินคนอื่นเขาทวงให้ใช้หนี้ กับเงินที่พ่อแม่ให้เรามาทำไมเงินส่วนนี้เราไม่ต้องคืนเขา
นิยามของคำว่าพร้อมสำหรับพ่อแม่คืออะไร? ในเมื่อตัวพ่อแม่มีอาหารพอจะเลี้ยงดูเราซึ่งอาจจะไม่ได้อร่อยเหมือนของแพง ที่พักอาศัยให้เรานอนที่อาจจะไม่ได้ดีแต่ก็มีให้เราอยู่อาศัย แต่ทำไมพอตัวลูกไม่พอใจอยากได้อะไรที่เป็นผลประโยชน์ต่อตัวเอง จะต้องอ้างว่า มีลูกเมื่อพร้อมนะพ่อแม่ กรอบของนิยามคำว่าพร้อมอยู่ที่ตรงไหน และควรมีเท่าไหร่ถึงจะพอ
คำว่า “ลูก” คืออะไร เมื่อตอนที่พ่อแม่ยังมีกันอยู่แค่สองคน รักกันและมีลูกด้วยกัน 1 คน เกิดมาจึงเริ่มเลี้ยงดูลูก แค่นั้นก็คือความพร้อมแล้วหรือเปล่า พร้อมที่จะรับผิดชอบชีวิตถึงแม้อาจจะไม่ได้ดีเท่าครอบครัวอื่น ทั้งที่ไม่จำเป็นต้องรู้สึกอะไรกับกระบวนการสืบทอดเลยก็ได้ แต่ก็เริ่มเลี้ยงดูมา พอลูกโตมาไม่ได้สิ่งที่ตัวเองพอใจกลับกลายเป็นความไม่พร้อม
“ถ้าไม่พร้อมจะให้หนูได้รับสิ่งดีๆ ไม่ต้องทำให้หนูเกิดมาก็ได้” พ่อแม่ที่รักลูกจะเคยคิดบ้างรึป่าวว่า “จริงๆพ่อแม่ก็ไม่อยากให้เกิดมาหรอก แต่ดันเกิดมาเลยต้องเลี้ยงดูทั้งที่ตอนแรกก็อยู่กัน 2 คนพ่อแม่ ดันมีีอะไรก็ไม่รู้ชีวิตที่ 3 เกิดมาจากความรักของ 2 คน เกิดมาแทนที่จะได้หวังพึ่ง ดันมาเป็นภาระ”
ทำไมถึงไม่ต้องคืนอะไรให้พ่อแม่เลย ทั้งที่ไปยืมอะไรคนอื่นเขาไว้ก็คืนกัน ยิ่งเป็นพ่อแม่ยิ่งทวงไม่ได้อีก เดี๋ยวจะหาว่าทวงบุญคุณ ไม่ได้อยากเกิดมาเองอีก ทำให้เกิดก็ต้องเลี้ยงดูตามหน้าที่อีก
เหตุผลอะไรทำไมเราถึงไม่ต้องทดแทนบุญคุณอะไรพ่อแม่เลย
ยกตัวอย่างในกรณีที่ พ่อแม่เลี้ยงดู (น้อย) (ปานกลาง) (มาก) เท่านั้น
ไม่นับสำหรับคนที่ไม่เคยเจอพ่อแม่เลยสักครั้งตั้งแต่เกิดมา
จากความเห็นของเด็กยุค 2000 ต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : dek-d
ติดตามข่าวสาร และบทความที่น่าสนใจได้เลยที่เว็บของเรา : free-news